วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 20 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 11.30 - 14.00.

การเรียนในวันนี้



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   การปรับตัวเข้ากับเด็กพิเศษเมื่อเราได้เจอสถานะการณ์จริง เพราะในอนาคตเราต้องเจอไม่มากก็น้อย เด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ที่เรารู้จักก็คือเด็กสมาธิสั้นอาจพบได้ในชีวิตประจำวันในเด็ก เพราะเด็กประเภทนี้จะเรียนอยู่กับเด็กปกติได้ แต่ได้แค่พื้นฐานขั้นแรก เราก็สามารถทำทฤษฏีที่เรียนไปใช้กับเด็กได้

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 13 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 11.30 - 14.00.

การเรียนในวันนี้
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(Children with Learning Disabilities)
         เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่างไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากวามพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย อาจพบในเด็กผู้ชายส่วนใหญ่
สาเหตุของ LD.คือความผิดปกติของการทำงานของสมองและกรรมพันธุ์
1.ด้านการอ่าน(Reading Disorders)
     อ่านช้าต้องสะกดทีละคำ อ่านออกเสียงผิดหรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลยไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านหรือจับใจความสำคัญไม่ได้. เช่น
     จาน     ---->   จาง/บา
     ง่วง      ---->    ม่วง/ม่ง/ง่ง
     เลย      ---->    เล
     โบราณ ---->   โบรา
     หนังสือ ---->    สือ
    อรัญ      ---->    อะรัย
2.ด้านการเขียน(writing Disorder) 
      จะมีลักษณะด้านการเขียนโดยการลากเส้นวนๆไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าหรือออกนอก เรียงลำดับอักษรผิด เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกันเขาจะจับดินสอแน่นมาก เขียนหนังสือไม่ตรงบรรทัด จะลบบ่อยๆเพราะเขียนทับคำเดิม
3.ด้านการคิดคำนวณ(Mathematic Disorder) 
     เขาจะไม่เข้าใจค่าของตัวเลขจะไม่สามารถนับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้ จะใช้วิธีบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้วมักจะเขียนเลขกลับกันและไม่เข้าใจเรื่องเวลา ตีโจทย์เลขไม่ออก
4.หลายๆด้านร่วมกัน 
     เขาจะไม่สามารถแยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก เขียนตามแบบไม่ค่อยได้ ฟังคำสั่งสับสนมีความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอนไม่มึการวางแผนงานสมาธิไม่ดีเด็ก LD ร้อยละ 15-20มีสมาธิสั้น ADHDร่วมด้วย 
2.ออทิสติก(Autistic)
      เป็นเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เขาจะไม่สามารถเข้าใจคำพูดความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนในสังคมได้และโรคนี้จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิตจะมีลักษณะเฉพาะเขาจะอยู่ในโลกของตนเองไม่ต้องการคนปลอบใจและไม่ชอบเข้าสังคม
ดูหน้าแม่                                     -----> ไม่มองตา
หันไปตามเสียง                            ---->  เหมือนหูหนวก
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม                    ---->  เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้     ---->  ไม่สนใจคนรอบข้าง
Autistic Savant
- กลุ่มที่คิดด้วยภาพ(visual thinker)จะใช้การคิดแบบอุปนัย(bottom up thinking)
- กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ(music,math and memory thinker)จะใช้การคิดแบบนิรนัย(top down thinking)
 ความรู้ที่ได้รับ