วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 22 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 11.30 - 14.00

สรุปการเรียนวันนี้(มีเนื้อหาต่อจากอาทิทย์ที่แล้ว)
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(children with speech language disorders) 
เด็กที่บกพร่องทางการพูด เกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
  1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (articutor disorders)
  2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด(speech flow disorders)
  3. ความบกพร่องของเสียงพูด(voice disorders)
ความบกพร่องทางภาษา การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและไม่สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นถ้อยคำได้
  1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย(delayed language)
  2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากสภาพสมองโดยทั่วไปเรียกว่า dysphasia หรือ aphasia
- เด็กที่ทีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(children with physical and health lmpaiments )
เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีปัญหาทางระบบประสาท
โรคลมชัก 
1. การชักในช่วงเวลาสั้นๆ(petit mal) เป็นอาการเหมอนิ่งเป็นเวลา 5-10นาที เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชักเด็กจะนั่งเฉยหรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2. การชักแบบรุนแรง(grand mal)  เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลงกล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5นาทีจากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
3. อาการชักแบบPartial complex มีอาการไม่เกิน 3 นาที เหม่อนิ่ง เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูดหลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และต้องการนอนพัก
4. อาการไม่รู้สึกตัว(focal partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆเด็กไม่รู้สึกตัวอาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5. ลมบ้าหมู(grand mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้าเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
ซี.พี.(cerebral palsy)
1. กลุ่มแข็งเกร็ง(spastic)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเอง(athetoid,ataxia)
3.กลุ่มอาการแบบผสม(mixed)
โรคศรีษะโต     สาเหตุมักเกิดจากการอุดกั้นของทางผ่านของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของท่อที่จะทำให้น้ำไขสันหลัง ที่จะผ่านออกมาจากสมองมีการตีบหรือไม่มีช่องว่าง หรือมีการอักเสบบริเวณท่อน้ำในสันหลัง จนกระทั่งเกิดการตีบขึ้นมา หรือมีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตัน ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการดูดซึมน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังเสียไป
โปลิโอ(poliomyelitis)  มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
แขนขาด้วนแต่กำเนิด(limb deficiency) 



ความรู้ที่ได้รับ






วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 15 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 11.30 - 14.00


กิจกรรมการเรียนวันนี้
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง "เด็กปัญญาเลิศ"(Gifted  child)
เป็นเด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญาและมีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กวัยเดียวกันเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วมีเหตุมีผลสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นคนที่ตื่นตัว เฉียบแหลมว่องไวช่างสังเกต ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

10 อัจฉริยะวัยเด็กของโลก

คิมอึงยอง (Kim Ung-Yong)
         ความสำเร็จในวัยเด็ก : ถูกบันทึกลงกินเนส ว่าเป็นผู้ที่มีไอคิวสูงที่สุดในโลก   IQ : 210
         ในวัยเด็กของ คิมอึงยอง เขาได้ถูกบันทึกว่าเป็นผู้ที่มีไอคิวสูงที่สุด ในหนังสือบันทึกสถิติโลก กินเนส นอกจากนี้ อึงยอง ยังสามารถพิชิตโจทย์คณิตศาสตร์ขั้นสูงได้ในรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น ในเวลาต่อมา เขาได้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาฟิสิกส์จาก มหาวิทยาลัย โคโรลาโด ด้วยวัยเพียง 15 ปี และเคยทำงานอยู่ที่องค์การ นาซ่า แต่ในทุกวันนี้ เขากลายเป็นวิศวกรโยธาอยู่ในเกาหลีใต้ ทั้งนี้ อึงยอง มีผลงานตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการนับร้อยฉบับ เกี่ยวกับเรื่องของไฮดรอลิกส์
 
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณัทางความบกพร่อง
- เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา(Children With Intellectual Disabilities)
เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณท์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกันมี สองกลุ่มคือเด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
- เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน(Children With Hearing Lmpaired)
เด็กที่บกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุในการรับฟังต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือเด็กหูตึงและเด็กหูหนวก
- เด็กที่บกพร่องทางการเห็น(Children With Visuai lmpaiments)
เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลื่อนลาง  สามารถเห็นได้ไม่ถึง1/10ของคนสายตาปกติ มีลานสายตากว้างไม่เกิน30องศา


สรุปองค์ความรู้ที่ได้ในวันนี้



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 8 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 


กิจกรรมวันนี้นำเสนอ power point ของแต่ล่ะกลุ่มที่จัดเตรียมมานำเสนอเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
กลุ่มที่ 1. ซี พี (C.P.)
             ย่อมาจาก (Cerebral Palsy) คือสมองพการ ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้. นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น

กลุ่มที่ 2. แอลดี( LD)  
           ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน พบบ่อย ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี  LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1

กลุ่มที่ 3. ออทิสซึม 
            เป็นภาวะที่เกิดจากสมองมีพัฒนาการที่ผิดแปลกออกไปจากเด็กทั่วไป โดยเป็นภาวะที่ครอบคลุมพัฒนาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ (1) ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา (2) การเข้าสังคมและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น (3) พฤติกรรมและหรือความสนใจ โดยเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะและอาการของภาวะออทิสซึมมากน้อยแตกต่างกันไป และอาจเปลี่ยนไปได้เมื่อเด็กโตขึ้น หรือเมื่อสมองมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง

กลุ่มที่ 4 สมาธิสั้น 
            สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ใครทราบว่าเกิดจากอะไร จากการศึกษาการทำงานของสมองของคนเป็นโรคสมาธิสั้นพบว่าสมองบางส่วนมีการทำงานน้อยกว่าปกติ และยังพบอีกว่าแม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีผลทำให้สมองเด็กมีปัญหาในการพัฒนา นอกจากนั้นยังพบว่าสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมก็น่าจะมีส่วนทำให้เกิดโรคนี้
กลุ่มที่ 5 เด็กปัญญาเลิศ  
            ความฉลาดหลักแหลมนั้นไม่ได้อยู่ที่ลักษณะนิสัยใดลักษณะนิสัยหนึ่ง และไม่ได้อยู่ที่ลักษณะนิสัยหลายลักษณะนิสัยรวมกัน แต่อยู่ที่ระดับความเข้มข้นและส่วนผสมรวมกันของลักษณะนิสัยพิเศษบางอย่าง เป็นว่าเด็กส่วนมากมีความอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติ ลักษณะนิสัยอยากรู้อยากเห็นนี้ในตัวของมันเองมิได้เป็นความฉลาดหลักแหลม แต่ถ้าความอยากรู้อยากเห็นนี้มีระดับเข้มข้นสูงมาก และเมื่อผสมผสานกับลักษณะนิสัยอื่นๆ เช่น ความเป็นเด็กเจ้าคิด ความวิริยะ ความพากเพียร และมีความุ่งมั่นผลักดันที่จะทำงานให้สมบูรณ์ไม่มีที่ติ ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะความฉลาดหลักแหลมโดยแท้ ต่อไปนี้จะเป็นลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ปรากฏบ่อยๆ ในตัวเด็กที่มีปัญญาหลักแหลม
กลุ่มที่ 6. ดาวน์ซินโดรม 
             เป็นโรคทางพันธุกรรมซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกิดความผิดปกติ ซึ่งในคนปกตินั้นจะมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เพียง 2 แท่ง แต่ในกลุ่มผู้มีอาการดาวน์ซินโดรมนั้นจะมี 3 แท่ง หรือบางรายอาจจะมีอาการมาจากการย้ายที่ของโครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจจะมีสาเหตุมาจากการมีโครโมโซมแท่งที่ 46 และ 47 ในคน ๆ เดียว โดยกรณีจะเรียกว่า MOSAIC แต่ก็เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากพ่อแม่ที่มีความผิดปกติ



วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 1 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 

การเรียนในวันนี้(ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (Early Childhood With Special Needas)



แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5ปี


วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 25 สิงหาคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 
กิจกรรมในวันนี้ (อิเล็กทรอนิคไม่เอื้อต่อการเรียน )
อาจารย์เลยพูดคราวๆๆเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ มีอยู่2ทางคือ
 1. ทางการแพทย์
 2. ทางการศึกษา
เด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้ช้าเด็กแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันการสอนนั้นต้องเป็นรายบุคคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กพิเศษ
- เด็กที่ปกพร่องทางพัฒนาการ เป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติวัยเดียวกัน
- ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก ด้านชีวภาพ สภาพแวดล้อมก่อนคลอด กระบวนการคลอด สภาพแวดล้อมหลังคลอด


บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 18 สิงหาคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.

กิจกรรมในวันนี้
   อาจารย์อธิบาย course syllabus ของรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษและบอกถึงงานที่เราต้องทำในเทอมนี้มีทั้งกลุ่มและเดี่ยว และเกณฑ์การให้คะแนน

     งานเดี่ยว                                                            งานกลุ่ม
- สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กพิเศษ                             - นำเสนอเด็กพิเศษ
- ทำบล็อก                                                          - กิจกรรมในห้องเรียน
แบ่งกลุ่ม8คนเพื่อทำงานกลุ่มเกี่ยวกับเด็กพิเศษตามหัวข้อที่ได้
1. ซีพี
2. ดาวน์ซินโดรม
3. ออทิสติก
4. สมาธิสั้น
5. แอลดี
6. ปัญญาเลิศ

    ส่วนวันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันคิดและบอกถึงเด็กพิเศษว่าเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเด็กพิเศษทำเป็นมายแม็บ เด็กพิเศษตามความคิดเราก่อนที่เราจะเรียนให้เราได้ใช้ความรู้เราก่อนว่าเรารู้มากน้อยและเข้าใจแค่ไหน สำหรับกลุ่มเรา เด็กพิเศษจะเป็นเด็กที่อยู่นิ่งไม่ได้สมาธิสั้นขาดความอดทน เป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไปแต่เขาก็สามารถพัฒนาได้ เด็กพวกนี้ต้องการความสนใจจะเรียกร้องอยู่เสมอจะเป็นคนที่เป็นตัวเองสูง ต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิดส่วนคนดูแลก็ต้องมีความอดทนสูงใจเย็นถึงจะอยู่กับเด็กพิเศษได้